บทภาวนาเพื่อวอนขอสันติภาพในยูเครน นพวาร 17-25 มีนาคม 2022 

(ดัดแปลงจาก: Pope JPII's Prayer for Peace)  

  

ข้าแต่พระเจ้าแห่งความเมตตากรุณา พระองค์ทรงประทานสันติสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดมา และตรัสว่าความสุขแท้แด่ผู้สร้างสันติ “เพราะพวกเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า” พระองค์ทรงเรียกร้องให้ข้าพเจ้าทั้งหลายดําเนินในหนทางแห่งสันติและการคืนดี และมีเมตตาเหมือนที่พระองค์ทรงพระเมตตา ขอโปรดให้พระสุรเสียงของพระองค์ดังก้องในใจของทุกคน  

ข้าพเจ้าทั้งหลายภาวนาวิงวอน เพื่อชาวยูเครนที่กําลังประสบภัย สงคราม ความขัดแย้งและความตาย  โปรดอวยพระพรบรรดาผู้นําประเทศให้มีวิจารณญาณ วิสัยทัศน์ และความอุตสาหะ ในการสร้างโลกแห่งความยุติธรรมและสันติเพื่อทลายกำแพงแห่งความเกลียดชังและการแบ่งแยก 

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอมอบถวายทุกครอบครัวและประชาชนในยูเครน  โปรดให้พวกเขาไม่แพ้พ่ายต่อความท้อแท้สิ้นหวัง แต่เป็นความหวังใหม่ ให้แก่กันและกันในยามวิกฤตินี้ โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกัน เคารพในศักดิ์ศรีและช่วยเหลือพี่น้องในยามยากไร้  

ขอโปรดประทานการพักผ่อนตลอดนิรันดร์แก่บรรดาผู้เสียชีวิต และโปรดบำบัดรักษาผู้บาดเจ็บทั้งหลาย โดยอาศัยคําเสนอวิงวอนของพระนางมารีย์ ข้าพเจ้าทั้งหลายวอนขอสันติภาพในยูเครน  

วันทามารีย์เปี่ยมด้วยพระหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้ได้รับพระพรกว่าสตรีใดๆ และพระเยซูโอรสของท่านทรงได้รับพระพรยิ่งนัก สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลาย ผู้เป็นคนบาป บัดนี้ และเมื่อจะตาย อาแมน

 

ถึงเวลาหรือยัง! ที่ผู้ผลิตสินค้า และผู้บริโภค ต้องร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาขยะต่างๆ โดยใช้หลักการ EPR

แน่นอนว่าไม่มีบริษัทไหนอยากได้ชื่อว่าเป็นตัวการสร้างขยะออกสู่สิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งหลายคนโทษว่าก็เป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภค และระบบจัดการขยะของภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพเอง จะโทษบริษัทได้อย่างไร ความจริงก็คือ บริษัทต่างๆ คือต้นทางหลักในการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเหล่านี้มาใช้ บริษัทยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งใช้มาก

สิ่งสำคัญที่บริษัทชั้นนำจำเป็นต้องนำมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และร่วมแก้ปัญหาขยะที่เกิดจากสินค้าของตัวเองคือ หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility – EPR) ซึ่งโธมัส ลินด์ควิสท์ (Thomas Lindhqvist) แห่งมหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน เป็นคนเสนอแนวคิดนี้

โดยสรุป EPR (Extended Producer Responsibility) ก็คือ หลักการที่ให้ผู้ผลิตคำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม , ผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบในการจัดการสินค้าของตัวเองหลังสินค้านั้นๆหมดอายุการใช้งาน หมายความว่า ความรับผิดชอบไม่ได้จบแค่การขายสินค้าเท่านั้น แต่ต้องคิดด้วยว่าเมื่อใช้เสร็จแล้วจะนำสินค้ากลับมาจัดการอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาการจัดการของเสียและการนำวัสดุที่ยังใช้ได้กลับมารีไซเคิล โดยนโยบายนี้ จะทำให้ผู้ผลิตจะต้องคิดให้มากขึ้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะต้องร่วมรับผิดชอบจัดการในภายหลัง

การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หลักการ EPR จะถูกนำมาใช้ก็เมื่อมีการออกกฎหมายรองรับเพื่อบังคับให้ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตาม โดยราวหนึ่งในสามเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก(ร้อยละ 35) รองลงมาคือบรรจุภัณฑ์ (17%) ยางรถยนต์ (17%) รถยนต์และแบตเตอรี่ (12%) และอื่นๆ เช่น น้ำมันเครื่องใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์สี สารเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่และหลอดไฟ จะเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดให้ใช้หลักการหรือกฎหมาย EPR ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการบริโภคสูงและมีต้นทุนการกำจัดค่อนข้างสูงด้วย

หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของ EPR ที่มีประสิทธิภาพมากๆ ก็คือระบบการคิดค่ามัดจำ ลองนึกถึงระบบมัดจำขวดสมัย 30-40 ปีที่แล้ว สมัยก่อนขวดแก้วกินเสร็จก็ต้องรวบรวมเอาขวดมาคืนเพื่อจะได้เงินมัดจำ วิธีนี้ทำให้ผู้ผลิตสามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เสร็จแล้วกลับเข้าสู่ระบบได้เกือบร้อยเปอร์เซนต์ หลักการนี้ยังใช้ได้ผล แม้จะเปลี่ยนมาเป็นขวดพลาสติกแล้วก็ตาม ในเยอรมนีที่มีระบบคิดค่ามัดจำขวดมีอัตราการรีไซเคิลขวดพลาสติกอยู่ที่ 99% เทียบกับอังกฤษที่ยังไม่มีกฎหมายมีอัตราการรีไซเคิลขวดพลาสติกอยู่ที่ 43% ในสหรัฐอเมริกา รัฐที่มีกฎหมายค่ามัดจำขวดยังสามารถประหยัดค่าเก็บและจัดการขยะมูลฝอยได้ปีละหลายร้อยล้านบาท
ลองคิดดูว่า หากผู้ผลิตมีการคิดค่ามัดจำบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งเราต้องจ่ายค่ามัดจำขวดแก้ว ทำให้เราต้องนำขวดไปคืนที่ร้านทุกครั้งเพื่อจะได้ค่ามัดจำคืน พลาสติกจำนวนมากจะถูกนำเข้าสู่ระบบ รีไซเคิลแทนที่จะกลายเป็นขยะที่บ่อฝังกลบหรือหลุดรอดลงสู่แม่น้ำลำคลอง ออกสู่ทะเลและมหาสมุทร

ลองคิดดูว่า หากผู้ผลิต เลือกปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นแบบที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (reuse) และส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าแบบเติม (refill) เลือกวัสดุที่สามารถนำกลับมาแปรรูป (recycle) ได้ 100% จะช่วยลดการสร้างขยะได้ขนาดไหน

ถึงเวลาแล้ว!! ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ต้องมีส่วนช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจังกว่านี้ โดยนำหลักการ EPR ไปใช้ในการออกแบบและจัดการผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิต ไม่ใช่เพียงทำกิจกรรม CSR ฟอกเขียวไปเรื่อยๆ และโยนภาระกลับมาให้ผู้บริโภค เพราะจิตสำนึกเพียงอย่างเดียวไม่มีทางแก้วิกฤตขยะพลาสติกที่กำลังเกิดขึ้นได้

ทุกภาคส่วนในสังคมไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ควรศึกษาหลักการ EPR และเครื่องมือเชิงนโยบายอื่นๆ ที่ทั่วโลกได้นำมาใช้ เรียนรู้ประสบการณ์จากต่างประเทศและออกแบบระบบ EPR ที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่จะช่วยให้เรามุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างแท้จริง


อ้างอิง
ผลการตรวจสอบแบรนด์(Brand Audit) จากขยะพลาสติกในประเทศไทย ปี 2562
Coca-Cola is world’s biggest plastics polluter – again
CP and Coca-Cola among worst offenders for plastic pollution in Thailand based on Greenpeace report
Extended producer responsibility
EPR: The good, the bad and the ugly
History of EPR
Plastic Atlas 2019
Stakeholder Views on Extended Producer Responsibility and the Circular Economy
The Bottle Deposit Debate
เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศเยอรมนี
“ระบบความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR)และระบบมัดจำคืนเงิน
(DRS)โดย สุจิตรา วาสนาดำรงดี สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การกลับมาของฝูงชนอีกครั้งที่ลานหน้าวิหารนักบุญเปโตร;

พระสันตะปาปาทรงเรียกร้องให้ร่วมกันปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม

 

กรุงวาติกัน (สำนักข่าวรอยเตอร์)

 

 

ฝูงชนเริ่มกลับมารวมตัวกันที่ลานหน้าวิหารนักบุญเปโตรในวันอาทิตย์  เพื่อรับพรจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  เมื่อทรงเสด็จมาที่หน้าต่างห้องของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 เดือน  โดยพระองค์ทรงเรียกร้องให้เป็นปีที่เราไตร่ตรองในเรื่องสิ่งแวดล้อม

  

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงโบกพระหัตถ์ให้ฝูงชนที่มาเข้าเฝ้าที่ลานหน้าพระวิหารนักบุญเปโตร หลังสวดบทภาวนาราชินีสวรรค์ โดยไม่มีการร่วมสวดของฝูงชน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่กรุงวาติกัน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2020     (Vatican Media/Handout via REUTERS ATTENTION EDITORS-THIS IMAGE HAS BEEN SUPPLIED BY A THIRD PARTY.)

 

มีผู้คนไม่มากนักไปที่ลานหน้าพระวิหารในวันจันทร์ (25พฤษภาคม 2020) เมื่อมีการเปิดพระวิหารและลานชุมนุมอีกครั้ง หลังจากที่ปิดมานานเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโลน่า ผู้คนยังคงต้องรักษาระยะห่างและสวมหน้ากาก

พระสันตะปาปาทรงกล่าวทางอินเตอร์เน็ต จากห้องสมุดของพระองค์ โดยผู้คนที่ลานหน้าวิหารเฝ้าชมทางจอภาพขนาดใหญ่ แล้วไปรับพระพรด้วยความสงบที่หน้าต่างห้องของพระสันตะปาปา ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พระองค์ทรงอวยพร โดยไม่มีผู้คนในลานชุมนุมเลย

เมื่อวันอาทิตย์ (24พฤษภาคม 2020) เป็นวันครบรอบ 5 ปีของพระสมณสาสน์ “เลาดาโตซี”  เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรียกร้องให้ลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล  และสนับสนุนแนวความคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ว่ากิจกรรมของมนุษย์มีส่วนในการทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน (Global warming)

พระองค์ทรงเรียกร้องให้คริสตชนคาทอลิกรำพึงไตร่ตรองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในช่วงเวลา 12 เดือนนับจากนี้  ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และจะทำอย่างไรที่จะช่วยบรรดาผู้ที่เดือดร้อนที่สุดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate change)

พระองค์ทรงแสดงความยินดีกับคริสตชนคาทอลิกในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ในโอกาสวันฉลองทางศาสนาแห่งชาติ   คาทอลิกในประเทศจีนต้องเผชิญการแบ่งแยกเป็นเวลามากกว่าครึ่งศตวรรษ กลายเป็นพระศาสนจักร 2 ส่วน คือ พระศาสนจักรที่ได้รับการรับรองจากรัฐ และพระศาสนจักรใต้ดินที่รัฐไม่รับรอง แต่เป็นกลุ่มที่เคารพต่อศูนย์กลางคาทอลิกที่กรุงโรม

ในปี 2018 พระสันตะสำนักและกรุงปักกิ่งได้สร้างประวัติศาสตร์โดยการร่วมกันลงนามในข้อตกลง เรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราช (Bishops) ซึ่งหมายความว่า พระสังฆราชทุกองค์ (ของพระศาสนจักรทั้ง 2 กลุ่มในประเทศจีน )  จะยอมรับอำนาจปกครองของพระสันตะปาปา  แต่แล้วก็เกิดเหตุติดขัดขึ้น  คือ ในเดือนมิถุนายน วาติกันได้ขอให้ปักกิ่งระงับการกดดันพระสงฆ์ที่ไม่ยอมลงนามร่วมกับรัฐบาล  

เรื่องนี้ได้มีการรื้อฟื้นอีกครั้งในเดือนกันยายน ทำให้เกิดการแตกแยกของคาทอลิกในประเทศจีน และทั่วโลก และมีคำวิจารณ์ว่าพระสันตะปาปายอมอ่อนข้อให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์

 

รายงานข่าวโดย Philip Pullella          เรียบเรียงโดย Mark Potter

Our Standards: The Thomson Reuters Trust Principles.

 

 

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายปฏิบัติหลัก เพื่อการพัฒนาชีวิตและพันธกิจของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ.2020

นโยบายปฏิบัติหลัก เพื่อการเจริญชีวิตและปฏิบัติพันธกิจ งาน โครงการ กิจกรรม ในปี ค.ศ. 2020

1. เพื่อคริสตชนทุกคนมีความเข้าใจกฤษฎีกาสมัชชาฯ 2015 และลงมือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

2. เพื่อเสริมสร้างชีวิตแห่งการเป็นศิษย์พระคริสต์ที่มีพระวาจาเป็นศูนย์กลาง และเป็นศิษย์ธรรมทูตที่แท้จริงท่ามกลางสังคมโลกปัจจุบัน โดยอาศัยวิถีชุมชนคริสตชนย่อย และชีวิตหมู่คณะของชุมชนคริสตชนในรูปแบบใหม่

3. เพื่อให้ความสำคัญกับชีวิตครอบครัว ตามคำสอนของพระศาสนจักร และคำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

4. เพื่อเน้นความเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม ตามสมณสาสน์ Laudato Si’

5. เพื่อใช้สื่อสมัยใหม่ในงานอภิบาลและประกาศข่าวดีอย่างเต็มที่

6. เพื่อให้มีการประเมินผลโครงการ/กิจกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพตอบสนองเป้าหมาย

7. เพื่อการจัดการศึกษา การอบรมบุคลากร ที่มีความเสมอภาคตามเจตนารมณ์พระวรสาร ในชุมชนวัด โรงเรียน เป็นสนามประกาศข่าวดี

8. เพื่อการเฉลิมฉลอง 350 ปีการสถาปนามิสซังสยาม และ การฉลองปีพระวาจา ตามคำเชิญชวนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส และสหพันธ์คาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์ ในปี ค.ศ. 2020

 jan 1,2015  อยุธยา  ประชุม
 sep 3,2015  นครปฐม  ประชุม

122/10 ชั้น 5 อาคารเซนต์โธมัส ซอยนาคสุวรรณ  ถนนนนทรี 
แขวงช่องนนทรี  เขตยานนาวา  กรุงเทพฯ 10120
โทร.0-2681-3846 ถึง 8  โทรสาร 0-2681-3849 
E-Mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it." rel="alternate">This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนาเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น

 

ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนาเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น ตั้งอยู่ในบริเวณวัดนักบุญอันนา ท่าจีน จ.สมุทรสาคร  เพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านมนุษย์ธรรม เป็นต้นในเรื่องการให้การศึกษา การดูแลสุขอนามัย ส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนแก่กลุ่มแรงงานอพยพที่เข้ามาทำงานในเขตจังหวัดสมุทรสาคร  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า มอญ เขมร ฯลฯ  โดยการสนับสนุนของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นพันธกิจในงานด้านสังคม  ในการปฏิบัติความรักต่อเพื่อนพี่น้อง คนด้อยโอกาส คนชายขอบสังคมและคนพลัดถิ่น

 

ปัจจุบัน(พ.ศ.2567) ศูนย์  3  ศูนย์  ส่วนใหญ่เป็นเด็กต่างด้าวชาติพันธ์  พม่า  มอญ  กะเหรี่ยง  โดยทั้ง 3 ศูนย์มีเด็กมาเรียนเฉลี่ยราว 498   คน

 

1. ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนาเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น St.Ann Catholic Center For Migrants (ACCM)

    ตั้งอยู่ที่ 79 ม.4 ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง จ.สมุทรสาคร,  034 819 056

    เปิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2010 ณ ปัจจุบัน(ปี 2567)มีเด็กมาเรียนวันละ 175 คน ชาย 95 คน หญิง 80 คน

 

2. ศูนย์มาริสต์เพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น Marist Center For Migrants (MCM)

    ตั้งอยู่ที่ 942/10 ถ.เศรษฐกิจ 1 ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000  

    เปิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2011  ปัจจุบัน(ปี 2567)มีเด็กมาเรียนวันละ  142 คน ชาย 68 คน หญิง 74 คน

 

 

3. ศูนย์คาทอลิกนักบุญยออากิมเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น St.Joachim Catholic Center For Migrants (JCCM)

    ตั้งอยู่ที่ 135 หมู่ 7 อาคาร 33 ตำบลท่าจีน อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 

   เปิดการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2011  ปัจจุบัน(ปี 2567)มีเด็กมาเรียนวันละ  181  คน ชาย 83 คน  หญิง 98 คน

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้พลัดถิ่น แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม(บุตร)ในเรื่องการศึกษา สุขภาพ และอนามัย

2.เพื่อส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อความเป็นอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้พลัดถิ่น แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม(บุตร)สามารถพึ่งตนเองได้

4.เพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และลดความยากไร้แก่ผู้พลัดถิ่นและแรงงานต่างด้าว

กิจกรรม

1. ให้การศึกษาแก่เด็กต่างด้าวอายุตั้งแต่ 4-15 ปี

2. สอนภาษาไทยให้แก่วัยแรงงานในวันอาทิตย์

3. ส่งเสริมเรื่องสุขภาพอนามัย  และช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วยแก่แรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม

4. จัดกิจกรรมให้ความรู้ในด้านต่างๆ แก่ผู้ปกครอง และเด็กๆ

5. จัดกิจกรรมเพื่อให้แรงงานต่างด้าวและเด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมวันสำคัญ  และเทศกาลสำคัญต่างๆ

6. ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ  ที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวทั่วๆไป เช่น กรณีให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวที่ประสบปัญหา, การทำ Passportให้กับเด็กๆที่เรียนที่ศูนย์ฯ เป็นต้น

สถานที่ติดต่อ

ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนาเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น

วัดนักบุญอันนา ท่าจีน

79 ม.4 ต.บางหญ้าแพรก อ.เมือง  จ.สมุทรสาคร 74000

โทร.(034)819-056 ถึง 7