ภาพรวมสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ไทยปี 2559

 

เกษตรอินทรีย์ไทยในปี พ.ศ. 2559 ได้ขยายตัวต่อเนื่องอีกครั้ง โดยในปี 2558 มีการขยายตัวสูงถึง 21% ซึ่งการขยายตัวส่วนใหญ่เกิดขึ้นในส่วนของข้าวออร์แกนิค (28%) และพืชผสมผสาน (187%) ซึ่งถ้าดูย้อนหลังกลับไป 5 ปี เกษตรอินทรีย์ไทยมีการเจริญเติบโตเฉลี่ย 6.37% และ 10.14% เมื่อดูย้อนหลังกลับไป 10 ปี การขยายตัวของพื้นที่เกษตรอินทรีย์นี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจข้อมูลที่ดีขึ้น และอีกส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านนโยบายและตลาด ที่มีการยกเลิกนโยบายประกันราคาข้าวในช่วงต้นปี 2557 ซึ่งเริ่มทำให้ราคาข้าวเปลือกทั่วไปปรับตัวลดลง โดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2559 ที่ราคาข้าวเปลือกน่าจะตกต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี ซึ่งน่าจะทำให้ในปี 2561 มีเกษตรกรที่ปลูกข้าวหันมาปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์มากขึ้น  ในขณะเดียวกัน ตลาดออร์แกนิคในประเทศและต่างประเทศก็ได้เหมือนจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ขบวนการเกษตรอินทรีย์ไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างคึกคัก

ในส่วนของภาครัฐ ความพยายามในการผลักดันแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (ที่สิ้นสุดลงตั้งแต่ปี 2554) ก็ยังไม่ได้มีความคืบหน้าแต่อย่างใด  แต่แม้ว่า การปราศจากแผนดังกล่าวแทบจะไม่ได้มีผลต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศ ทั้งนี้ก็เพราะเกษตรอินทรีย์ไทยขับเคลื่อนโดยภาคเอกชนและประชาสังคมเป็นหลัก ตราบใดที่ภาคเอกชนและประชาสังคมยังมีความพร้อมและความเข้มแข็ง เกษตรอินทรีย์ไทยก็ยังคงขับเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง  สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากกว่าก็คือ บรรยากาศ/สภาพแวดล้อมทางนโยบาย เช่น ความพยายามผลักดันให้มีการอนุญาตทดลองปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในช่วงปลายปี 2558, การตรวจพบการปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรในสินค้าเกษตรทั่วไป (เกษตรดีที่เหมาะสม - GAP) และเกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานภาครัฐ, การจัดทำร่างข้อกำหนดมาตรฐานบังคับฉลากเกษตรอินทรีย์  ปัจจัยเหล่านี้ค่อนข้างจะส่งผลคุกคามต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศค่อนข้างมาก

การผลิตเกษตรอินทรีย์ไทย
จากการสำรวจข้อมูลโดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท1 พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 235,523.35 ไร่ ในปี พ.ศ. 2557 เป็น 284,918.44 ไร่ ในปี พ.ศ. 2558 (เพิ่มขึ้น 20.97%)

ในส่วนของจำนวนฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในช่วงเวลาดังกล่าวก็ขยับเพิ่มขึ้นจาก 9,961 ฟาร์มในปี พ.ศ. 2557 เป็น 13,154 ฟาร์ม ในปี พ.ศ. 2558

  
 

ตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย
หลังจากที่ที่สำนักงานปลัด กระทรวงพาณิชย์ ได้สนับสนุนให้มีการศึกษาตลาดออร์แกนิคในประเทศไทยในปี 2557 (รายงานเผยแพร่ในปลายปี 2558 ดาวน์โหลดรายงาน) ก็ยังไม่ได้มีการสำรวจตลาดอีก ทำให้ไม่มีข้อมูลใหม่เกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดเกษตรอินทรีย์ไทย


ในรายงานการศึกษาตลาดพบว่า ตลาดสินค้าออร์แกนิคไทยในปี 2557 มีมูลค่ารวม 2,331.55 ล้านบาท โดย 1,187.10 ล้านบาทเป็นตลาดส่งออก (77.9%) และ 514.45 ล้านบาทเป็นตลาดในประเทศ (22.06%) โดยช่องทางตลาดออร์แกนิคในประเทศที่ใหญ่ที่สุด คือ โมเดิร์นเทรด (59.48%) รองลงมาคือ ร้านกรีน (29.47%) และร้านอาหาร (5.85%)  โดยการส่งออกนั้น ในปี 2557 ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปเป็นสินค้าออร์แกนิคส่งออกที่สำคัญที่สุดของประเทศ โดยมีมูลค่าสูงถึง 1,201.00 ล้านบาท/ปี (66.1%) รองลงมาคือ ข้าว ออร์แกนิค ซึ่งมีมูลค่าส่งออกราว 552.25 ล้านบาท (30.4%) โดยตลาดออร์แกนิคในภูมิภาคยุโรปเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดในทุกหมวดสินค้า รองลงมาคือ อเมริกาเหนือ ส่วนตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียน เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ  ส่วนตลาดออร์แกนิคในรประเทศไทยมีจุดจำหน่ายปลีก (sale point) สินค้าออร์แกนิคประมาณ 251 แห่ง โดยช่องทางของโมเดิร์นเทรด ซึ่งมีอยู่ 8 บริษัท 171 จุดจำหน่าย เป็นช่องทางที่มีจำนวนมากที่สุด มีสินค้าออร์แกนิค 150 – 1,500 รายการในจุดจำหน่าย มีมูลค่าการขายรวม 306 ล้านบาท/ปี  รองลงมาคือช่องทางร้านกรีน ซึ่งมีจุดจำหน่าย 33 แห่ง มีรายการสินค้าออร์แกนิคเฉลี่ย 229 รายการ มียอดขายรวม 151.62 ล้านบา/ปี

นอกจากข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตลาดเกษตรอินทรีย์ไทยแล้ว ผลการศึกษาอีกเรื่องที่น่าสนใจมากก็คือ ระดับการรับรู้และความเข้าใจของผู้บริโภค  ผู้บริโภคในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเคยได้ยินเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ (92% ที่สุ่มสัมภาษณ์ทั่วประเทศ) แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเข้าใจเกษตรอินทรีย์อย่างไม่ถูกต้อง (มีผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเพียง 10.9% และผู้บริโภคทั่วประเทศเพียง 6.51% ที่เข้าใจเกษตรอินทรีย์ถูกต้อง ที่สามารถตอบคำถามความเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ถูกเกินครึ่งหนึ่งของคำถาม)  ประเด็นปัญหาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีเข้าใจคลาดเคลื่อนและเข้าใจผิดพลาด คือ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เหมือนกันกับมาตรฐานปลอดภัยจากสารพิษ ผักอนามัย ผักปลอดสารพิษ, พืชไฮโดรโปนิคเป็นเกษตรอินทรีย์, โลโก้ Q เป็นโลโก้ของสินค้ารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์, และเกษตรอินทรีย์อนุญาตให้ใช้จีเอ็มโอ

ที่มา http://www.greennet.or.th/article/411

 

     

 

 

 

 --------------------------------------------------------

 

  

  1. คลิป1
  2. คลิป2
  3. คลิป3
  4. คลิป4
  5. Fratelli Tutti

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

  

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

15 มกราคม 2567 งานสิ่งแวดล้อมศึกษา "เลาดาโตซี ปีที่ 2" ณ โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

Fratelli Tutti ความสุขแท้แห่งสหัสวรรษที่3 (บทที่ 1-8)

บรรยายโดย คุณพ่อ ทัศนุ หัตถการกุล

 

 ตอนที่ 1

 

  ตอนที่ 2  | ตอนที่ 3  | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6 | ตอนที่ 7 | ตอนที่ 8

 

 

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

และช่อง YOUTUBE Thomas The Apostle church Bangkok

next
prev