ความเมตตาที่ชายขอบ

 

พระสันตะปาปาฟรังซิสเชิญชวนเราให้ต้อนรับผู้อพยพ                            เขียนโดย Sue Weishar, Ph.D.

 

ความเมตตาเป็นเรื่องหลักสำหรับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตั้งแต่ทรงรับตำแหน่ง พระองค์กล่าวว่า “ความเมตตาเป็นการสื่อสารอันทรงพลังที่สุดของพระเจ้า” “ พี่น้องที่รัก ขอพระเมตตาของพระเจ้าปกคลุมเราไว้...เราจะได้สัมผัสถึงความอ่อนโยนและอ้อมกอดอันน่าอัศจรรย์ของพระองค์ ซึ่งจะทำให้เราเองมีใจเมตตา ทดทน พร้อมให้อภัย และเปี่ยมด้วยความรัก”

ในการประกาศปีศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเมตตา พระสันตะปาปาทรงให้ชื่อของสาส์นการประกาศนี้ว่า “พระพักตร์แห่งความเมตตา” ซึ่งพระองค์ได้สรุปภาพรวมของความเชื่อคริสตชนว่า “พระเยซูเจ้าเป็นพระพักตร์แห่งความเมตตาของพระบิดา ...เป็นยาบรรเทาแห่งความเมตตาที่ไปถึงทุกคน เป็นเครื่องหมายว่าพระอาณาจักรพระเจ้าอยู่ท่ามกลางเราแล้ว” กิจการแห่งความเมตตา จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ความน่าเชื่อถือสำหรับคำสอนของพระศาสนจักร

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตระหนักว่า การตกเป็นผู้ด้อยโอกาส การเมินเฉย และพฤติกรรมหน้าไหว้หลังหลอก เป็นตัวผลักดันผู้คนไปสู่ชายขอบของสังคม   “ในปีศักดิ์สิทธิ์นี้ ให้พวกเราเปิดใจของเราเพื่อมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ที่ต้องอยู่ชายขอบของสังคม เพราะสังคมยุคใหม่นี้ได้ผลักดันพวกเขาออกไป...เปิดตาดูความทุกข์ยากของโลก และบาดแผลของพี่น้องชายหญิง ผู้ซึ่งศักดิ์ศรีของพวกเขาถูกปฏิเสธ และรับรู้ด้วยว่ามันเป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องตอบเสียงร้องให้ช่วยของพวกเขา! ให้เรายื่นมือไปช่วยพวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้รู้สึกอบอุ่นที่เราอยู่กับพวกเขา ด้วยมิตรภาพและความเป็นพี่น้องกัน  ให้เสียงร้องของพวกเขากลายเป็นเสียงร้องของพวกเราเอง  และเมื่อเราร่วมกัน จะได้สามารถทำลายความเมินเฉย ซึ่งบ่อยครั้งเป็นหน้ากากแอบแฝงความเห็นแก่ตัวและการหน้าไหว้หลังหลอกของพวกเรา”

เมื่อไตร่ตรองในบริบทของสหรัฐ โดยคิดถึงผู้อพยพเป็นล้านๆคนที่อยู่ตามชายขอบสังคมของสหรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต ในขณะที่เศรษฐกิจของเราขึ้นกับแรงงานของพวกเขา  รวมทั้งเรื่อง “สงครามยาเสพติด” ที่ทำลายครอบครัวและชุมชนมากมายจนนับไม่ถ้วน ปีนี้เป็นปีแห่งการเลือกตั้งทำให้เรากังวลใจที่ต้องเห็นความหลอกลวงและเห็นแก่ตัวของนักการเมือง เป็นเหมือนยาพิษสำหรับเรื่องผู้อพยพ

เมื่อเริ่มการหาเสียงเป็นประธานาธิบดี นายโดนัล ทรัมป์ ตราหน้าผู้อพยพชาวเม็กซิกันที่เป็นฆาตกรข่มขืน เพียงเพื่อให้จำนวนผู้สนับสนุนตนเองเพิ่มขึ้น    นายเท็ด ครูซ พูดถึงเรื่อง “พระกายของพระคริสต์”  ครั้งแล้วครั้งเล่า  เพื่อทำคะแนนสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดี เขาประณามผู้สมัครอื่นๆ อย่างรุนแรง ที่สนใจช่วยให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารให้ได้รับสิทธิอย่างถูกกฎหมาย     หลังการก่อการร้ายที่ปารีส ผู้ว่าการรัฐมากว่า 30 คน ต่อต้านการรับผู้ลี้ภัยชาวซีเรียเข้ามาอยู่ในสหรัฐ  น่าเศร้าใจ ที่ทัศนคติและนโยบายแข็งกระด้างต่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัยนั้นอยู่ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศเรา

ปี 1798 มีการออกบทบัญญัติต่อต้านคนต่างด้าว เนื่องจากกลุ่มสมาพันธรัฐนิยมกลัวว่า ฝรั่งเศสและกลุ่มคนเห็นใจผู้อพยพจะคุกคามที่ส่วนบุคคลและความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งให้อำนาจประธานาธิบดี เพื่อเนรเทศคนต่างชาติที่คิดว่าจะเป็นอันตรายได้  - ในปี 1830-1840 ผู้อพยพชาวเยอรมันและชาวไอริชจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิก ต้องตกอยู่ในความหวาดกลัวเพราะการต่อต้านอย่างรุนแรง  – ในปี 1842 ที่อารามซิสเตอร์คณะอุร์สุลิน ในชาร์เลสทาวน์ เกิดไฟไหม้ระหว่างบูชามิสซา และในปี 1844 มี 30 คนเสียชีวิตในการจลาจลต่อต้านคาทอลิก ที่ฟิลาเดลเฟีย  - ปี 1891 บริษัทแห่งหนี่งได้จ้างคนงานชาวรัสเซียเชื้อสายยิวไปทำงานในโรงสีที่นิวเจอร์ซี่ ทำให้คนในท้องที่ 500 คน บุกเข้าไปขับไล่ชาวยิวด้วยความไม่พอใจ  - ตอนต้นปี 1830 ผู้อพยพชาวไอริช 8,000 - 20,000 คน ซึ่งคาดว่าเสียชีวิตด้วยโรคไข้เหลือง อหิวาตกโรค และมาลาเรีย ในขณะเตรียมหนองน้ำเพื่อขุดคลองเป็นอ่างน้ำแห่งใหม่ ในนิวออร์ลีนส์ หลายคนตายขณะทำงาน และศพถูกผลักไปข้างๆ แล้วฝังไว้ในทำนบกั้นคลอง  - ปี 1882 แรงงานชาวจีนอพยพถูกปฏิเสธ ไม่ให้เข้าสหรัฐ  - ลูกหลานผู้ลี้ภัยชาวแอฟริกาไม่มีความแน่นอนว่าจะได้สัญชาติสหรัฐหรือไม่ จนกระทั่งมีการแก้ไขบทบัญญัติครั้งที่ 14 ในปี 1868

พระสันตะปาฟรังซิสทรงต้องการให้ทุกคนเอาใจใส่ต่อเสียงเรียกของพระคริสตเจ้า ให้แสดงความรักความเมตตาต่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัย  จึงทรงเรียกร้องให้ทุกๆ วัดในยุโรปรับดูแลครอบครัวผู้ลี้ภัยวัดละครอบครัว รวมทั้งวัดของวาติกัน 2 แห่งด้วย   หลังจากเสด็จเยี่ยมค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศกรีซ เมื่อเดือนเมษายน พระองค์เองได้นำผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย 3 ครอบครัว กลับไปอยู่ในความดูแลที่วาติกัน

ในโอกาสวันผู้อพยพและผู้ลี้ภัยโลก ปี 2016 พระสันตะปาปา ได้ต้อนรับผู้อพยพมากกว่า 6,000 คน ที่มาชุมนุมกันที่ลานหน้าพระวิหารนักบุญเปโตร พระองค์กล่าวว่า “หัวใจของพระวรสารแห่งพระเมตตา คือ การพบปะและการยอมรับซึ่งกันและกัน เป็นการสานสัมพันธ์เข้ากับการพบและการยอมรับของพระเจ้า” “ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเป็นพี่น้องชายหญิงของเรา ผู้กำลังแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า  ผู้ซึ่งต้องได้รับการปกป้องศักดิ์ศรี และมีความสามารถที่จะร่วมในการพัฒนาและสวัสดิภาพได้”  พระองค์ยังทรงให้กำลังใจผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ไม่ให้สิ้นหวังหรือหมดความยินดีในพระเมตตาของพระเจ้า ซึ่งปรากฏในบรรดาผู้คนที่ได้พบระหว่างการเดินทางมา  พระสันตะปาปาทรงกล่าวว่า การอพยพคือความเป็นจริง ที่เราต้องให้ความสำคัญในการเรียกร้องให้มีโครงการศึกษาและแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

บางทีสหรัฐคงได้ยินคำแนะนำนี้ของพระสันตะปาปา  จึงได้ให้งบประมาณในปี 2016 นี้ จำนวน 750 ล้าน ดอลลาร์ เพื่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรง พัฒนาการบริหารจัดการ และการขาดแคลนโอกาสทางเศรษฐกิจ สำหรับประเทศเอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส อันเป็นสาเหตุของการอพยพ    สำนักงานวอชิงตันเพื่ออเมริกาใต้ ให้ความเห็นว่า มันเป็นสัญญาณที่ดี ที่มีการให้ความช่วยเหลือมากขึ้นในเขตภูมิภาคนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เพราะประเทศที่จะได้รับการช่วยเหลือ ต้องแสดงความตั้งใจอย่างจริงจัง ในการบังคับใช้กฎหมาย แก้ปัญหาความยากจน การทุจริต และความไม่เสมอภาค ก่อนที่จะได้รับทุนช่วยเหลือ

 

เรียบเรียงจาก “Mercy at the Margins”,  Just South Quarterly Magazine (Spring 2016)

Jesuit Social Research Institute, pages 2 and 8.

 

รวบรวมโดย ดินเหนียว

 

 

     

 

 

 

 --------------------------------------------------------

 

  

  1. คลิป1
  2. คลิป2
  3. คลิป3
  4. คลิป4
  5. Fratelli Tutti

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

  

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

15 มกราคม 2567 งานสิ่งแวดล้อมศึกษา "เลาดาโตซี ปีที่ 2" ณ โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

Fratelli Tutti ความสุขแท้แห่งสหัสวรรษที่3 (บทที่ 1-8)

บรรยายโดย คุณพ่อ ทัศนุ หัตถการกุล

 

 ตอนที่ 1

 

  ตอนที่ 2  | ตอนที่ 3  | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6 | ตอนที่ 7 | ตอนที่ 8

 

 

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

และช่อง YOUTUBE Thomas The Apostle church Bangkok

next
prev